วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันที่  30  พฤศจิกายน  2559
             วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการนัดเจอกันในวิชา  การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์   ซึ่งวันนี้มีการให้รางวัลเด็กดีสำหรับคนที่ได้รางวัลจะได้หนังสือพิมพ์และหนังสือมหาสนุกฉบับพิเศษ  นอกจากนี้ยังมีการแจกปากกาเมจิกสีสำหรับนักศึกษาทุกๆคนอีกด้วย  อีกทั้งการนัดมาในวันนี้ยังเป็นการนัดมาเพื่อกำหนดวันที่จะส่งงาน และกำหนดวันสอบด้วย

รางวัลเด็กดี

 ภาพภายในห้องเรียน





การประเมินผล
ประเมินตนเอง  ให้ความสนใจกับกิจกรรม มีการจดบันทึกกำหนดการต่างๆ
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆให้ความสนใจกับการกำหนดส่งงานและเรื่องเรียนในเทอมหน้า
ประเมินอาจารย์   อาจารย์ให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษา ทำให้บรรยายกาศอบอุ่นเป็นกันเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันจันทร์ที่  21  พฤศจิกายน  2559

ความรู้ที่ได้รับ

              ก่อนเริ่มการเรียนวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมพาพวกเราทำ คือ กิจกรรมเพลงจับกลุ่ม โดยอาจารย์จะร้องเพลงแล้วกำหนดจำนวนของคนในกลุ่มมา พวกเราก็จับกลุ่มตามตัวเลขที่ได้มากลุ่มไหนครบก่อนก็นั่งลง  การใช้เพลงจับกลุ่มแบบนี้ทำให้เด็กที่อยู่ในกลุ่มคละกันจริงๆและเด็กได้เกิดความสนุกสนานตื่นเต้น  อีกทั้งฝึกทักษะการคิด ไหวพริบและความว่องไวให้เด็กด้วย
             หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม 5 คน  แต่งนิทานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต โดยกำหนดว่าทุกสิ่งสามารถพูดคุยโต้ตอบได้  กลุ่มของเราเลือกใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน


นิทาน  รองเท้าที่หายไป

              เช้าที่อากาศสดใสวันนี้มะลิตื่นเต้นดีใจจะได้ไปเที่ยวทะเล จึงไม่รีรอที่จะตื่นเช้ารีบไปอาบน้ำ  เมื่อมะลิอาบน้ำเสร็จจึงรีบวิ่งไปที่ตู้เสื้อผ้าเพื่อเลือกชุดไปทะเล
เสื้อผ้า :  สวัสดีมะลิ  วันนี้มะลิจะไปไหนหรอ
มะลิ  :  วันนี้มะลิจะไปทะเลจ้ะ พี่ๆช่วยเลือกเสื้อผ้าให้มะลิหน่อยนะจ๊ะ
เสื้อผ้า :  ใส่ฉันสิ!!   ใส่ฉันสิ!!  ใส่ฉันสิ!!
เสื้อผ้า :  ใส่ฉันดีกว่า!!  ใส่ฉันดีกว่า!!
มะลิ :  ใจเย็นๆนะทุกคนวันนี้มะลิจะใส่พี่กระโปรงและพี่เสื้อยืด  ส่วนพี่ๆคนอื่นๆมะลิจะเอาใส่กระเป๋าไปด้วยนะ
ชุดว่ายน้ำ :  มะลิเอาฉันไปด้วยนะ
              จากนั้นมะลิก็เดินไปหน้าบ้านพร้อมกระเป๋า เพื่อใส่รองเท้าเตรียมตัวออกจากบ้าน เมื่อใส่ไปได้หนึ่งข้างกลับพบว่ารองเท้าอีกข้างไม่ได้อยู่ตรงนี้
มะลิ  :  เอ๊ะ!! พี่รองเท้าอีกข้างหนึ่งของมะลิหายไปไหนนะ
รองเท้า :  พี่ก็ไม่รู้จ้ะมะลิว่ารองเท้าอีกข้างหายไปไหน  ตื่นมาก็ไม่เจอแล้ว
มะลิ :  มะลิก็จำไม่ได้ว่าตัวเองเก็บไว้ที่ไหน
เสื้อยืด  :  ฉันว่าต้องอยู่ในบ้านแน่ๆเลย
กระโปรง : แต่ฉันว่าดุ๊กดิ๊กต้องเอาไปซ่อนแน่ๆ
แม่  :  มะลิไปกันได้แล้วลูก  (แม่เรียกมะลิขึ้นรถ)
มะลิ :  แต่มะลยังหารองเท้าไม่เจอเลยค่ะ
แม่ : ใส่คู่อื่นมาแทนก็ได้จ้ะ  เราต้องไปแล้ว
คุณนายตื่นสาย  :  สวัสดีจ้ะทุกคน  พวกเธอกำลังหาอะไรกันอยู่หรอ
มะลิ :  กำลังหารองเท้าค่ะ รองเท้าอีกข้างของมะลิหายไป
คุณนายตื่นสาย  :  อ่อ!!  ใช่คู่นี้หรือเปล่าจ้ะ  เมื่อคืนเจ้าดุ๊กดิ๊กคาบมาซ่อนไว้ที่ฉัน
มะลิ :  ใช่ค่ะ  เย้หาเจอแล้ว  ขอบคุณนะคะ
คุณนายตื่นสาย  :  ขอโทษด้วยนะพอดีฉันชอบตื่นสายน่ะ
มะลิ :  ไม่เป็นไรค่ะ หนูไปก่อนนะคะสายมากแล้ว
แล้วมะลิก็รีบวิ่งไปขึ้นรถที่คุณพ่อ คุณแม่กำลังรออยู่ แล้วออกเดินทางมุ่งหน้าสู่ทะเล

ข้อคิดที่ได้ : การมีระเบียบวินัย เก็บของให้เป็นระเบียบถูกที่
การแสดงนิทานสามารถแบ่งได้ดังนี้  
-  ไม่มีคำบรรยายผู้แสดงดำเนินเรื่องเอง  
-  บรรยายอย่างเดียว
-  มีผู้บรรยายและนักแสดงมีบทพูดด้วย  (กลุ่มของเราเลือกใช้วิธีนี้)


ภาพกิจกรรม











การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

นิทานทำให้เด็กได้ใช้ความคิดที่เป็นอิสระที่สุด  จึงเหมาะสมที่จะนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่มและทำหน้าที่แบ่งบทละครให้เพื่อนๆ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมเท่าๆกัน
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆแต่ละกลุ่มตั้งใจทำงานของตัวเอง
ประเมินอาจารย์   อาจารย์เลือกรูปแบบการสอนที่หลากหลายทำให้เด็กไม่เบื่อ 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันจันทร์ที่  14  พฤศจิกายน  2559

ความรู้ที่ได้รับ

               เริ่มวันนี้ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่างๆให้สร้างสรรค์ โดยให้นักศึกษาแตะส่วนต่างๆของร่างกายตามพยางค์ชื่อของตนเอง  ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 อย่าง  คือ ร่างกาย พื้นที่ ระดับ และทิศทาง

หลังจากนั้นให้จับกลุ่ม 5 คน ให้นักศึกษาจับฉลากการเคลื่อนไหวและจังหวะ  มี 6 รูปแบบ  คือ

  • การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย  (กลุ่มของดิฉัน)
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
  • การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
  • การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
  • การเคลื่อนไหวโดยความจำ

การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย   * การเกิดของไก่ *

           การทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย คำบรรยายที่ครูนำมาใช้ในกิจกรรมอาจมีการเขียนเนื้อหาคราวๆมาแล้วแล้วนำมาปรับเสริมแต่งตามความเหมาะสม  หรืออาจเป็นการแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ในขณะนั้น ซึ่งเรื่องที่นำมาใช้ในการเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายส่วนมากจะเป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวันหรือเป็นเรื่องธรรมชาติรอบตัว เป็นต้น  หลังจากทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายเสร็จ ครูจะพาเด็กๆผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การบีบนวด การยืดตัว

ภาพกิจกรรม








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนการสอนได้หลากหลายวิชา  อีกทั้งเด็กๆยังได้พัฒนาพัฒนาการของตนเองครบทั้งสี่ด้านอีกด้วย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง  ช่วยเพื่อนๆในกลุ่มคิดว่าเราจะใช้เนื้อเรื่องแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับหัวข้อที่ได้
ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจฟังคำแนะนำที่อาจารย์เสริมให้ในแต่ละกลุ่ม
ประเมินอาจารย์  อาจารย์ให้คำแนะนำอย่างละเอียดในหัวข้อที่ต้องแสดงออกอย่างชัดเจนเพื่อที่เด็กจะได้ไม่สับสนกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันจันทร์ที่  7  พฤศจิกายน  2559

ความรู้ได้รับ

               วันนี้ทุกคนนำสิ่งประดิษฐ์ของตนเองออกมานำเสนอที่หน้าชั้นเรียน  บางคนได้คำแนะนำและให้นำกลับไปปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของสิ่งประดิษฐ์แล้วนำกลับมาส่งใหม่ในสัปดาห์ถัดไป  ส่วนสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ต้องแก้ไขอาจารย์จะเป็นคนเก็บไว้


ภาพตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์

ตู้เสื้อผ้าตุ๊กตา


เครื่องซักผ้า


ทีวี


โต๊ะเครื่องแป้ง


ซิงค์ทำกับข้าว


กระปุกออมสินแบบตู้ ATM


กล่องใส่ปลั๊กไฟ





             เมื่อทุกคนออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์จนครบแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้ทุกคนตั้งประเด็นปัญหาเกี่ยวกับของเล่นของตนเองขึ้นมา  เช่น  
ถ้าเราจะจัดระเบียบปลั๊กไฟ เราจะทำอะไรได้บ้าง  
คำตอบ คือ กล่องใส่ปลั๊กไฟ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เราสามารถประดิษฐ์ของเล่นเองได้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง  ต่อยอดจากความคิดของผู้อื่น ซึ่งของเล่นพวกนี้สามารถนำไปจัดเข้ามุมภายในห้องเรียน หรือ นำไปไว้ในเด็กๆในบ้านได้เล่นเสริมประสบการณ์ของเขาได้อีกด้วย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ของเล่นของตนเองที่ทำมาวันนี้ได้ข้อแนะนำจากอาจารย์ว่าเป็นสิ่งที่ทำง่ายเกินไปจากสิ่งที่เพื่อนทำมา  แต่ก็ถือว่าใช้ประโยชน์ได้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์ตามที่ตนเองได้เลือกไว้และทำออกมาได้ดีทุกคน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำสำหรับคนที่ควรปรับปรุง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม  2559


ความรู้ที่ได้รับ

การจัดกิจกรรมบูรณาการ

  • เพื่อให้เด็กเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย
  • เพื่อให้เด็กได้ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
          ด้านร่างกาย 
-  น้ำหนัก/ส่วนสูง
-  กล้ามเนื้อ 
-  สุขภาพอนามัย
-  ประสาทสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ
           ด้านอารมณ์  
-  การแสดงออกทางความรู้สึก
           ด้านสังคม
-  การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
-  การช่วยเหลือตนเอง
           ด้านสติปัญญา
-  การคิด
                 -  คิดสร้างสรรค์
                 -  คิดเชิงเหตุผล
                                             -  วิทยาศาสตร์
                                             -  คณิตศาสตร์
-  ภาษา

* เลือกใช้กิจกรรมที่เหมาะสมเชื่อมโยงกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
* บูรณาการกับชีวิตประจำวันของเด็ก/ตอบสนองต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


ของเล่นของใช้สำหรับเด็กปฐมวัย

กล่องใส่ปลั๊กไฟ

อุปกรณ์
  • กล่องรองเท้าแบบแข็ง
  • กระดาษสี
  • กาว/ปืนกาว
  • คัตเตอร์
  • ดินสอ/ไม้บรรทัด
วิธีการทำ
  • นำดินสอและไม้บรรทัดมาวัดกล่องรองเท้า เพื่อทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเท่าๆกันแล้วเว้นระยะห่างที่พอดี
  • ใช้คัตเตอร์เจาะตรงรู้สี่เหลี่ยมที่เราวาดไว้ทั้งหมด  จากนั้นไปเจาะที่ด้านความกว้างไว้ตรงมุมอีกหนึ่งรูหรือถ้ามีอยู่แล้วก็ไม่ต้องเจาะอีก
  • จากนั้นตัดกระดาษตามขนาดของกล่องด้านใน ใช้กาวติดลงไปกับตัวกล่อง
  • ฉีกกระดาษสีต่างๆตามความพึงพอใจของเรา ติดให้ทั่วตัวกล่องทุกด้านเลย  เว้นตรงช่องรูที่เจาะไว้
  • นำกระดาษสีเป็นเส้นๆตกแต่งส่วนฝาของกล่องโดยใช้ปืนกาวติด
  • เมื่อตกแต่งกล่องจนสวยงามแล้ว ก็นำปลั๊กไฟไปใส่ไว้ด้านใน โดยให้นำเต้าเสียบสอดตัวรู้ที่อยู่ด้านกว้างออกมา  ส่วนปลั๊กต่างๆที่นำมาเสียบให้สอดสายออกมาทางรูด้านยาวที่เราเจาะไว้
          การทำกล่องใส่ปลั๊กไฟพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถร่วมกันประดิษฐ์กับเด็กๆได้ง่ายๆที่บ้าน เพราะอุปกรณ์หาง่ายและไม่ได้มีอุปกรณ์ที่หลายอย่างเกินไป  อีกทั้งกล่องใส่ปลั๊กไฟยังช่วยป้องกันการเกิดอันตรายขึ้นกับเด็กเล็กภายในบ้านที่อยากรู้อยากเห็นชอบเอานิ้วไปแหย่นู่นนี่นั่นอีกด้วย






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

           กิจกรรมที่เราจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมภายในครอบครัว  สามารถนำไปบูรณาการกับความคิดสร้างสรรค์ทั้งนั้น ยิ่งเด็กได้ลงมือทำ ได้ทดลองด้วยตนเองยิ่งทำให้ความได้ฝึก ได้พัฒนาสิ่งใหม่ๆความคิดใหม่ๆให้ตนเอง

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   มีจดบันทึกเนื้อหาที่เรียนในวันนี้และมีการสอบถามว่าของใช้ที่จะประดิษฐ์มีความเหมาะสมหรือไม่จากอาจารย์
ประเมินเพื่อน   เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลามีการจดบันทึกความรู้ในวันนี้  และหาสิ่งประดิษฐ์ที่แตกต่างไม่ซ้ำกับเพื่อนๆ
ประเมินอาจารย์  อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

*งดการเรียนการสอน *
วันปิยะมหาราช