วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559


ความรู้ที่ได้รับ

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
Guilford  ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน  คือ
  • ความคิดคล่องแคล่ว  =  คิดอย่างว่องไวได้หลากหลายอย่าง  คิดได้เยอะและรวดเร็ว
  • ความคิดริเริ่ม = คิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาและแตกต่าง
  • ความคิดยืดหยุ่น = คิดดัดแปลงจากสิ่งที่มีให้เกิดความหลากหลาย
  • คิดละเอียดลออ = คิดเป็นขั้นตอนมีการลงรายละเอียดเล็กๆย่อยๆ
โดยกิจกรรมการเรียนวันนี้คือ กิจกรรมที่ใช้ศิลปะเข้ามาทำให้เด็กๆเกิดความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งมีทั้งหมด 4 กิจกรรมด้วยกัน  คือ  
1. แมลงจากแกนกระดาษทิชชู่  
               วิธีการทำ คือ  ให้ตัดแกนกระดาษทิชชู่ออกครึ่งหนึ่งตามแนวตั้ง  จากนั้นเจาะรูที่แกนกระดาษจะได้รู้ทั้งหมดสี่รูที่ด้านเดียวกันและเจาะห่างกันนิดนึง  นำเชือกมาร้อยจากบนลงมาล่างอ้อมกลับขึ้นไปด้านบนแล้วมันปม  หลังจากนั้นก็นำรูปแมลงที่เราวาดไปติดตรงหัวแกนกระดาษทิชชูที่เราเจาะ  ลองดึงเชือกขึ้นลงดูจะเห็นว่าผีเสื้อเราสามารถขยับขึ้นลงได้ ^^

2. เป่าฟองสบู่หลากสี
               วิธีการเล่น คือ น้ำสีน้ำผสมกับน้ำยาล้างจาน  จากนั้นนำหลาดไปจุ่มสีแล้วปากให้เกิดฟองตกลงใส่กระดาษของเรา  ซึ่งฟองที่ตกลงมาจะมีรูปร่างแตกต่างกันและมีความเข้มตามการหยดที่แตกต่างกันด้วย ถ้าฟองขนาดใหญ่สีที่หยุดจะจาง  ถ้าฟองขนาดเล้กสีที่หยดจะเข้มกว่า

3. ผีเสื้อจากมือเรา 
                วิธีการทำ  คือ  ให้เราระบายสีน้ำลงบนมือของตนเองจากนั้นนำไปทาบลงบนกระดาษ แล้วตัวตามรูปร่างของมือเรา เอาปากกาเมจิเติมตาของผีเสื้อแล้วพับครึ่งระหว่างนิ้วโป้งทั้งสอง  นำกระดาษตัดเป็นเส้นพอดีตัวผีเสื้อ พับครึ่งแเลวนำมาติดที่ด้านหลังผีเสื้อ เมื่อเราตึงๆจะทำให้รู้เสื้อว่าผีเสื้อกำลังบิน

4. ของเล่นจากจานกระดาษ ( จานสิ่งแวดล้อม )
                 วิธีการทำ  คือ  วาดภาพต้นไม้ลงไปบนตัวจานกระดาษที่เป็นวงกลมฐานจาน  จากนั้นใช้คัตเตอร์กรีดตามรูปที่วาดโดยกรีดตั้งแต่ต้นถึงใบให้ขาดออกจากจาน ระบายสีต้นไม้ ในวงกลมเริ่มจากสีฟ้าเป็นน้ำ  สีน้ำตาลเป็นดินและบนสุดเป็นสีเขียวพื้นหญ้า  พับต้นไม่ทุกต้นให้ตั้งขึ้นเหมือนป๊อบอัพนำไม้ติดกาวไปติดไว้ที่ต้านหลังต้นไม้เป็นแนวยาวเป็นอันเสร็จ


ภาพกิจกรรม






การนำไปประยุกต์

                เลือกใช้สิ่งเหลือใช้หรือสิ่งที่ไม่ได้ใช้แล้ว นำกลับมาทำให้เกิดประโยชน์ที่มีความหลากหลายและเกิดการเรียนรู้อีกมากมาย อีกทั้งประหยดค่าใช้จ่าย และเป็นของหาง่ายที่หาได้ทั่วไปภายในบ้านหรือห้องเรียน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : รู้สึกชอบบางกิจกรรมและไม่ชอบบางกิจกรรม เช่น การใช้หลอดเป่าที่หลอดมีจำนวนไม่พอกับคนทำให้ต้องใช้ร่วมกับหลายๆคน และชอบกิจกรรมจานกระดาษที่ไม่ได้กำหนดว่าเราต้องทำอะไร
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความสนใจกับกิจกรรม ช่วยกันตอบคำถามท้ายคาบ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาให้และมีการถามความรู้เดิมก่อนเข้าการทำกิจกรรม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น